เมนู

ญาติ คือว่า ย่อมงามดุจสามเณร ชื่อว่า อธิมุตตกะ ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของ
พระสังกิจจเถระ

เรื่อง อธิมุตตกะสามเณร



ได้ยินว่า สามเณรนั้นเป็นหลานของพระสังกิจจเถระนั้น. ในกาลครั้ง
นั้น พระเถระกล่าวกะสามเณรว่า ดูก่อนสามเณร เธอเป็นผู้ใหญ่แล้ว เธอจง
ไปถามถึงอายุของเธอแล้วจงมา เราจักอุปสมบทให้ ดังนี้ สามเณรรับคำว่า
ดีแล้วขอรับ ไหว้พระเถระแล้วถือบาตรและจีวรไปบ้านน้องหญิง ซึ่งตั้งอยู่
ใกล้ดงอันเป็นที่อาศัยอยู่ของพวกโจร แล้วก็เที่ยวไปบิณฑบาต. น้องหญิง
เห็นท่านแล้วไหว้แล้ว จึงนิมนต์ให้ไปนั่งในบ้านให้ฉันภัตตาหารแล้ว. สามเณร
ทำภัตกิจเสร็จแล้ว จึงถามถึงอายุของตน. นางตอบว่า ดิฉันไม่ทราบ แม่
ย่อมทราบ. สามเณรกล่าวว่า ท่านจงอยู่ที่นี่ เราจักไปบ้านโยมมารดา แล้วก็
ก้าวเข้าไปสู่ดง. บุรุษผู้เป็นโจรเห็นสามเณรแต่ไกล จึงส่งสัญญาณแก่พวกโจร.
พวกโจรให้สัญญาณด้วยคำว่า ได้ยินว่า สามเณรองค์หนึ่ง หยั่งลงสู่ดง พวก
เธอจงไปนำสามเณรนั้นมา ดังนี้. โจรบางพวกกล่าวว่า เราจักฆ่า บางพวก
กล่าวว่า เราจักปล่อย. แม้สามเณรก็คิดว่าเราเป็นพระเสกขะ มีกิจที่ควรทำ
แก่ตนอยู่ เราปรึกษากับพวกโจรเหล่านี้แล้ว จักทำความสวัสดีเป็นประมาณ
จึงเรียกหัวหน้าโจรมา กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราจักทำความอุปมา
(ความเปรียบเทียบ) แก่ท่าน ดังนี้ แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ในอดีตกาลอันยาวนาน ที่หมู่ไม้ใน
ดงใหญ่ เสือดาวตัวหนึ่งเที่ยวดักเหยื่อตาม
ทางโค้ง ในกาลนั้น มันได้ฆ่าจัมปกะเสีย
แล้ว เนื้อและนกทั้งหลายเห็นจัมปกะตาย
แล้ว ตกใจกลัว พากันหลบหลีกไปใน

เวลาราตรี จึงไม่เกิดประโยชน์แก่มัน ฉัน
ใด ท่านฆ่าสมณะชื่อ อธิมุตตกะ ผู้ไม่มี
กิเลสเป็นเครื่องกังวลใจก็เหมือนกันนั่น
แหละ ชนทั้งหลายผู้เดินทางจักไม่มา
พวกท่านก็จักขาดทรัพย์ สมณะชื่อว่า
อธิมุตตกะ ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลใจ
กล่าวคำจริงแท้ ชนทั้งหลายผู้เดินทางจัก
ไม่มา ความเสื่อมแห่งทรัพย์จักมี.

นายโจรกล่าวว่า
ถ้าท่านเห็นคนเดินทางสวนมาแล้ว
จักไม่บอกแก่ใคร ๆ ข้าแต่ท่านผู้เจริญเมื่อ
ท่านตามรักษาสัจจะนี้ได้ ก็จงไปตามสบาย
เถิด.

สามเณรนั้น ผู้อันพวกโจรเหล่านั้นปล่อยอยู่ ไปอยู่ แม้เห็นญาติทั้ง
หลายก็มิได้บอก ที่นั้นเมื่อญาติของสามเณรนั้นมาถึงแล้ว พวกโจรก็ช่วยกัน
จับแล้วทรมานอยู่ พวกโจรได้กล่าวกะมารดาของสามเณรซึ่งนางกำลังเสียใจ
ประหารอกคร่ำครวญอยู่ว่า
อธิมุตตกะ จักถามท่านว่า อธิมุตตกะ
บัดนี้มีกาลฝนเท่าไร แม่กระผมถามแล้ว
ขอจงบอก พวกเราจักรู้ได้อย่างไร.

มารดาของอธิมุตตกะกล่าวกะพวกโจรว่า
เรานี้แหละเป็นมารดาของอธิมุตตกะ
ผู้นี้แหละเป็นบิดา ผู้นี้เป็นน้องหญิง ผู้นี้

เป็นพี่ชายน้องชาย ชนทั้งหมดในที่นี้
เป็นญาติของอธิมุตตกะ. อธิมุตตกะมีปกติ
ทำกิจอันไม่สมควรเลย เห็นญาติคนใดมา
แล้วก็ไม่ห้าม ข้อนี้เป็นวัตรปฏิบัติของ
สมณะทั้งหลายผู้เป็นพระอริยะ ผู้มีธรรม
เป็นชีวิตหรือหนอ.

นายโจรกล่าวว่า
อธิมุตตกะมีปกติกล่าวคำจริง เห็น
ญาติคนใดแล้วก็ไม่ห้าม เพราะความ
ประพฤติความดีของอธิมุตตกะ ผู้เป็นภิกษุ
ผู้มีปกติกล่าวคำจริง. ชนทั้งหมดผู้เป็น
ญาติของอธิมุตตะปลอดภัยแล้ว ขอจง
ไปสู่ความสวัสดีเถิด.

ญาติเหล่านั้น ผู้อันโจรทั้งหลายปล่อยตัวแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ไป
แล้วกล่าวกะอธิมุตตกะว่า
พ่อชนทั้งหมดปลอดภัยแล้ว กลับมาสู่ความสวัสดี เพราะความประพฤติ
ดีของท่านผู้เป็นภิกษุ ผู้กล่าววาจาสัตย์.
พวกโจรทั้งห้าร้อยเลื่อมใสแล้ว จึงขอบวชในสำนักของสามเณรชื่อ
อธิมุตตกะ. สามเณรจึงพาศิษย์เหล่านั้นไปสู่สำนักพระอุปัชฌาย์ แล้วตนก็
อุปสมบทก่อน ภายหลังจึงทำการอุปสมบทให้อันเตวาสิกของตน มีประมาณ
ห้าร้อยเหล่านั้น. อันเตวาสิกทั้งหมดเหล่านั้น ตั้งอยู่ในโอวาทของ อธิมุตตกะ
เถระแล้วก็บรรลุซึ่งพระอรหัตมีผลอันเลิศ ดังนี้.

เทวดา ถือเอาความข้อนี้แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สตํ
สทฺธมฺมมญฺญาย ญาติมชฺเฌ วิโรจติ
แปลว่า บุคคล รู้สัทธรรมของพวก
สัตบุรุษแล้ว ย่อมไพโรจน์ ในท่ามกลางแห่งญาติ ดังนี้.
ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่สบายเนือง ๆ.
คำว่า สาตตํ นี้ แปลว่า เนือง ๆ คือ เทวดาย่อมกล่าวว่า ชนทั้งหลาย
ย่อมดำรงอยู่สบายเนือง ๆ หรือว่า มีความสุขอันยั่งยืน.
ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแด่พระผู้มีพระภาค คำของใครหนอเป็นสุภาษิต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดย
ปริยาย ก็แต่พวกท่านจงฟังคำของเราบ้างว่า
บุคคล ควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ
ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคล
ทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อม
พ้นจากทุกข์ทั้งปวง.

บทว่า สพฺพาสํ โว แปลว่า ของพวกท่านทั้งหมด. บทว่า ปริยา-
เยน
ได้แก่ โดยการณะ. บทว่า สพฺพทุกฺขา ปมุญฺจติ แปลว่า ย่อม
พ้นจากทุกข์ทั้งปวง อธิบายว่า ไม่ใช่มีเหตุแต่คุณอันประเสริฐแต่อย่างเดียว
เท่านั้น ย่อมไม่ได้ปัญญาเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่เศร้าโศกในท่ามกลางแห่ง
เรื่องเป็นที่ตั้งแห่งความโศกเพียงอย่างเดียว ย่อมไพโรจน์ในท่ามกลางแห่งญาติ...
ย่อมเกิดในสุคติ. . . ย่อมดำรงอยู่สบายสิ้นกาลนานเพียงอย่างเดียว ก็บุคคลนั้น
แล ย่อมพ้นแม้จากวัฏทุกข์ทั้งสิ้น ดังนี้แล.
จบอรรถกถาสัพภิสูตรที่ 1

2. มัจฉริสูตร



ว่าด้วยเหตุที่ให้ทานไม่ได้



[86] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยาม
ล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกามากด้วยกัน มีวรรณะงาม ยังพระวิหาร
เชตวันทั้งสิ้นไปสว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[87] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
เพราะความตระหนี่ และความประ-
มาทอย่างนี้ บุคคลจึงให้ทานไม่ได้ บุคคล
ผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้.

[88] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ใน
สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
คนตระหนี่กลัวภัยใดย่อมให้ทานไม่-
ได้ ภัยนั้นนั่นแลย่อมมีแก่คนตระหนี่ผู้ไม่
ให้ทาน คนตระหนี่ย่อมกลัวความหิวและ
ความกระหายใด ความหิวและความกระ-
หายนั้นย่อมถูกต้องคนตระหนี่นั้นนั่นแลผู้
เป็นพาลทั้งในโลกนี้ และในโลกหน้า ฉะนั้น